บริการตรวจเครน​

บริการตรวจสอบปั้นจั่น
บริการตรวจเครน หรือปั้นจั่น ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยตรวจปั้นจั่น ตามกฎหมายกำหนดพร้อมทำการทดสอบพิกัดการยก (Load test) โดยวิศวกรเครื่องกลมืออาชีพ มาตรฐานสากลคุณภาพ ISO 9001​:2015

ตรวจเครน ตรวจปั้นจั่น ปจ.1 ปจ.2

บริการตรวจเครน หรือปั้นจั่น ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยตรวจปั้นจั่น ตามกฎหมายกำหนดพร้อมทำการทดสอบพิกัดการยก Load test โดยวิศวกรเครื่องกลมืออาชีพ มาตรฐานสากลคุณภาพ ISO 9001:2015 บริการ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย การตรวจสอบ และ การทดสอบสอบ อุปกรณ์ช่วยยกก็ต้องได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกันรวมไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของปั้นจั่น สลิงเหล็ก galvanize wire rope สลิงเส้นใยสังเคราะห์ synthetic sling ชุดโซ่ยก lifting chain อายโบลท์ eye bolt แช็คเคิล shackle แบบตัวดี, แบบโบว์และแบบใช้งานกับสลิงเส้นใยสังเคราะห์แบบแบน D shackle, Bow shackle and Webbing sling shackle เพลทแคลมป์ plate clamp ห่วงคล้องตะขอยกแบบเดี่ยว master link ห่วงคล้องตะขอยกแบบชุด master link assembly ฯลฯ เป็นต้น

ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร

ปจ.1 ปจ.2 คือ ปั้นจั่นหรือนิยมเรียกกันว่าเครน ปจ. นั้นย่อมาจาก ปั้นจั่น แต่ในกฎหมายไทยนั้นไม่สามารถจะใช้คำที่เป็นทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้จึงได้นิยามเครนว่าปั้นจั่น
lifting crane heavy equipment professional photography ai generated
wepik export 20230924132406PDgQ

ปั้นจั่น ปจ.1 ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพว่ามีอะไรบ้างดังนี้

1.ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ โอเวอร์เฮดเครน overhead crane
2.ลิฟท์ขนส่ง
3.ทาวเวอร์ เครน Tower crane
4รอกยกสิ่งของ

ปั่นจั่น ปจ.2 ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพว่ามีอะไรบ้างดังนี้

ปจ.2 คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้แก่ เช่น 1.โมบายเครน 2.รถเฮี๊ยบ 3.เรือเครน 4.และอื่นๆที่คล้ายกันสามารถเคลื่อนที่ได้
wepik export 20230924130744EPWj
wepik export 20230924131325N8qz

ขั้นตอนการตรวจสอบเครน

1.ตรวจสอบสภาพโครงสร้างหลักปั้นจั่น เครน สภาพตรวจสอบรอยเชื่อม สภาพน๊อตและการคลายตัว
2.ตรวจระบบต้นกำลังเครนตรวจสอบระบบหล่อลื่นเครน, ระบบเชื้อเพลิง, ระบบระบายความร้อน, มอเตอร์และระบบควบคุมไฟฟ้า, ระบบต่อกำลังและระบบเบรคเครน
3.ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของปั้นจั่น ตรวจสอบชุด Limit switches การทำงานของชุดควบคุมพิกัดการยก
4.ตรวจสอบม้วนรอก สลิงเครน ตรวจเส้นผ่านศูนย์กลางสลิง โซ่ การชำรุดสึกหรอ
5.สัญญาณเสียงและแสงไฟเตือนเครน ปั้นจั่น ความสว่างของไฟเตือน และ ระบบเสียงเตือนได้ยินชัดเจน
6.ทดสอบพิกัดการยก (Load test) โดยการใช้น้ำหนักจริงเพื่อทดสอบการยกอย่างปลอดภัย

กฎหมายระบุความถี่ในการตรวจปั้นจั่นไว้ดังนี้

1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง

  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

2.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ

  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

3.ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก

4.ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน หรือปั้นจั่นตามกฎหมาย

วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน

1.ปั้นจั่นใหม่

  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย

2.ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว

  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

ภาพบรรยากาศการตรวจสอบเครน ตรวจสอบปั่นจั่น